เปิดกรุ “สมเด็จ 2 สังฆราช: พระสมเด็จศรีธรรมโศกราช” เพื่อร่วมบุญสร้างวิหารกลางน้ำและพระพุทธรูปปางนาคปรกประจำมหาวิทยาลัย และรับพระสมเด็จศรีธรรมโศกราช

untitled-2

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ และอยู่ในกำกับของรัฐบาลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่ออันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential  University  ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พิจารณาใช้พื้นมหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็นอุทยานการศึกษาชื่อ “อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปีกาญจนาภิเษก ดังนั้น ภายในอุทยานจะสนองแนวพระราชดำริต่างๆ ของพระองค์ท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาวัฒนธรรมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ทั้งหมด 9,000 ไร่

ประกอบกับในปี พ.ศ. 2547 ได้มีชาวนครศรีธรรมราชที่ครอบครองพระพุทธรูปปางนาคปรกหน้าตัก 18 นิ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางนากปรกพญานาคแผ่พังพานเหนือเศียรพระพุทธเจ้าจำนวน 7 หัวและบอกว่าเป็นพระพุทธรูปที่ได้จากโบราณสถานตุมปัง เมื่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เกิดความรู้สึกว่าต้องตอบแทนบุญคุณสถานที่แห่งนี้เพราะได้พระพุทธรูปจากที่นี่จำนวนไม่น้อยทำให้มีฐานะดีมาก อีกทั้งเกิดความรู้กว่ามีแรงผลักดันให้ต้องทำอย่างนี้ หากไม่ทำก็ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งผู้มอบพระพุทธรูปให้กับมหาวิทยาลัยได้เล่าต่อว่ากรุตุมปังเป็นกรุใหญ่ที่มีพระพุทธรูปบูชาจำนวนมาก ที่พูดกันว่ากรุพระนางตรานั้นแหล่งใหญ่คือโบราณสถานตุมปังนี้เอง ดังนั้น พระพุทธรูปปางนาคปรกจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เนื่องจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ผู้นำใช้เป็นสถานที่ในการทำพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งมีความเชื่อต่อเนื่องสืบต่อกันมาทั้งศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ พระปางนาคปรกเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาศักดิ์สิทธิ์ และพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพญานาคได้ช่วยกันแผ่พังพานเพื่อเป็นร่มกันแดดฝนมิให้ต้องพระวรกายก็ด้วยพระเมตตานุภาพและพระพุทธานุภาพ ดังนั้น ผู้ใดบูชาพระปางนาคปรกแล้วก็เชื่อว่าจะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป อีกทั้งมีความเข้มแข็งแห่งพลัง อันเนื่องมาจากการมีสุขภาพดีนั่นเอง พระปางนาคปรกเป็นพระประจำวันเสาร์ ผู้เกิดวัดเสาร์บูชาก็จะเกิดผลดีมีศิริมงคลต่อการดำรงชีวิตและครอบครัว สีของวันเสาร์คือ สีม่วงตามที่ได้รับรู้กันมาและดวงของจังหวัดนครศรีธรรมราชคือดวงวันเสาร์ สีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชคือสีม่วงอันเกิดจากพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธโช) พระสหชาติของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ชื่อเดิมท่านคือ ม่วง ตรงกับสีประจำวันเสาร์ซึ่งสอดคล้องกับพระพุทธรูปปางนาคปรก เพราะเป็นพระประจำวันเสาร์ และโบราณกำหนดสีม่วงเป็นสีประจำองค์พระวันเสาร์ตามที่รับรู้กันมา

นอกจากนี้ตามความเชื่อโบราณเชื่อว่าพระพุทธรูปขนาดหน้าตักตั้งแต่ 9 นิ้วขึ้นไปจะมีเทวดาอารักษ์ประจำองค์พระพุทธรูปอย่างน้อย 1 องค์ และได้มีผู้รู้ได้บอกเล่าว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีเทวดาประจำองค์พระพุทธรูปถึง 4 องค์ และปัจจุบันได้มีการนำไปประดิษฐานไว้ที่หอจดหมายเหตุ อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา จากเดิมทั้งนักศึกษาและบุคลากรในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้พบเห็นสิ่งแปลกเหนือโลกที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ แต่หลังจากประดิษฐานที่หอจดหมายเหตุฯ นักศึกษาและบุคลากรไม่พบสิ่งเหนือธรรมชาติอีกเลย ทำให้บุคลากรส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะบารมีของพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์นี้ โดยในเบื้องต้นได้เรียกชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อตุมปัง” ตามชื่อของสถานที่ที่พบพระพุทธรูป นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้ประสานงานกับกรมศิลปากรมาพิสูจน์อายุของพระพุทธรูปนี้ และได้ข้อสรุปว่ามีอายุประมาณ 100 ปี หรือสันนิษฐานว่ามีการสร้างขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยพระบาททสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6

โดยในปี พ.ศ. 2560 เป็นโอกาสครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปีที่ 25 ประกอบกับการดำเนินการโครงการศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ในปี พ.ศ. 2563 และประมาณการว่าจะมีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการศูนย์การแพทย์ฯ ไม่น้อยกว่า 1,000,000 คนต่อปี ดังนั้น เพื่อเป็นสิริมงคล ขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่มาใช้บริการศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทั้งผู้ป่วยและญาติ รวมถึงเป็นขวัญและกำลังใจให้กับคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตลอดจนการเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้จัดทำโครงการสร้างวิหารและพระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งมีต้นแบบจากพุทธรูปที่มีผู้นำมามอบให้มหาวิทยาลัยเพื่อประดิษฐาน ณ วิหารกลางน้ำเป็นพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยต่อไป

คณะทำงาน

พระครูปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา ประธานฝ่ายสงฆ์
อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประธานฝ่ายมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา   รองประธาน
ผู้อำนวยการ อาศรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะกรรมการ
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพย์สิน คณะกรรมการ
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะกรรมการ
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอาคารสถานที่และโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว คณะกรรมการ
ผู้กำกับดูแลส่วนแผนงาน คณะกรรมการ
หัวหน้าส่วนอาคารสถานที่ คณะกรรมการ
หัวหน้าส่วนประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนสัณฑ์ เทพรัตน์ คณะกรรมการ
นายณรงค์ ปิยะกาญจน์   คณะกรรมการ
นายเสกมนต์ หม่อมวิญญา คณะกรรมการ
นายคุณชิต สุขพัฒนศรีกุล คณะกรรมการ
หัวหน้าส่วนการเงินและบัญชี คณะกรรมการและเลขานุการ
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป อาศรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

          โดยในเบื้องต้น คณะกรรมการชมรมกัลยาณชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลและเปิดให้ผู้สนใจได้สั่งจองบูชา (ดูรายละเอียดพิธีพุทธาภิเษกและเทวาภิเษกได้ที่ https://www.facebook.com/richandbright/) และมีรายได้จากการดำเนินการดังนี้

  1. เงินสด 67,936 บาท (ได้มอบให้ส่วนการเงินและบัญชีนำเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว)
  2. วัตถุมงคลคงเหลือ 2 รายการ และกำหนดจำนวนเงินบริจาคเพื่อรับเป็นที่ระลึก ดังนี้

2.1) หลวงปู่ทวดพิมพ์ลอยองค์ จำนวน 3 องค์ บริจาคเงิน 3,000 บาท ได้รับเป็นที่ระลึก 1 องค์

2.2) หลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีด จำนวน 7 องค์ บริจาคเงิน 2,500 บาท ได้รับเป็นที่ระลึก 1 องค์

โดยหลังจากที่คณะทำงานได้ขออนุมัติโครงการจากมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการจัดสร้างวิหารและพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย พบว่ามีพระสมเด็จศรีธรรมาโศกราชที่ดำเนินการจัดสร้างเพื่อรณรงค์ให้ได้มาซึ่งมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้จัดสร้างได้มอบไว้ให้กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “สมเด็จ 2 สังฆราช” เนื่องจากได้รับการอธิษฐานจิตโดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็นพระสังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงเป็นประธาน และมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงดับเทียนชัย เมื่อปี พ.ศ. 2529 รวมถึงการปลุกเสกขอบารมีพระบรมสารีริกธาตุ ณ วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวาระที่สอง วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 

บัดนี้ทางคณะทำงานเห็นถึงโอกาสดีที่ประชาชน บุคลากร ศิษย์เก่าและนักศึกษาจะได้มีโอกาสร่วม

11951196_870245909725917_8765265258350343130_n11949411_870376329712875_2721793725070374847_n

รายการวัตถุมงคล

วัตถุมงคล จำนวน (องค์) อัตราร่วมบุญ (บาท)
หลวงปู่ทวด ลอยองค์ ไม้พยุงแกะมือ รุ่นรวยรุ่งเรือง 3 3,000
หลวงปู่ทวด เตารีด ไม้พยุงแกะมือ รุ่นรวยรุ่งเรือง 7 2,500

พระสมเด็จศรีธรรมโศกราช ชุด 4 องค์ในกล่องบุกำมะหยี่

14484791_633799563468362_2560805667132366479_n

100 999

พระสมเด็จศรีธรรมโศกราช ชุด 4 องค์ในกล่องพลาสติก

14446227_633799350135050_7629125894621149513_n

100 899

พระสมเด็จศรีธรรมโศกราช พิมพ์ใหญ่ พิเศษ

14433132_633798580135127_5939053993643396537_n

1,000 499

พระสมเด็จศรีธรรมโศกราช พิมพ์ใหญ่

14522811_633796746801977_1989482955227069974_n

1,000 399

พระสมเด็จศรีธรรมโศกราช พิมพ์กลาง

14479630_633796383468680_4795340222110385930_n

1,000 199

พระสมเด็จศรีธรรมโศกราช พิมพ์เล็ก

14494761_633796223468696_9126905463544345743_n

3,000 99

ท่านใดสนใจ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ นายเสกมนต์ หม่อมวิญญา เบอร์โทรภายใน 3764 เบอร์มือถือ 09-9409-6144 หรือติดต่อทาง line 

14666305_10206386416894206_3273569573411490445_n

Facebook Comments Box